แผนภูมิโครงสร้างองค์กรตามการบริหารมหาวิทยาลัย

ผังโครงสร้างองค์กร

ประวัติความเป็นมา

หน่วยวิทยบริการหน่วยวิทยบริการ   วิทยาลัยสงฆ์นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดสงขลา 

        คณะกรรมการสงฆ์จังหวัดสงขลา ได้จัดทำโครงการขอขยายห้องเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในจังหวัดสงขลา โดยตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการ ชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดสงขลา และการจัดหาเงินทุนที่จะใช้จ่ายในการจัดตั้ง โดยนิมนต์พระเทพโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และคณะ ได้เดินทางไปดูสถานที่ ณ วัดหงษ์ประดิษฐาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อธิการบดีและคณะ เห็นเป็นสถานที่เหมาะสมมากที่สุด มีอาคารเรียน อาคารประกอบ สถานที่พักกว้างขวาง เจ้าอาวาสให้การสนับสนุน จึงให้คำปรึกษาคณะผู้ดำเนินการ จัดทำโครงการเสนอต่อกองแผนงาน โดยบรรจุไว้ในแผนงาน ๑ ปี โดยการขยายเป็นห้องเรียน แต่มีข้อบังคับของมหาวิทยาลัย การขยายห้องเรียนจึงต้องเปลี่ยนมาเป็นการขอเปิด หน่วยวิทยบริการ ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

     วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ พระวิสุทธิภัทรธาดา รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา พร้อมด้วยคณะเิดินทางมาศึกษารายละเอียด ได้รับฟังคำชี้แจงจากคณะสงฆ์จังหวัดสงขลา เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งหน่วยวิทยบริการ

     วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตัวแทนคณะสงฆ์จังหวัดสงขลา มีพระเทพวีราภรณ์ พระมหาพนม กิตฺติปาลี นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส. จังหวัดสงขลา ได้เข้าชี้แจงต่อสภาวิชาการมหาวิทยาลัย ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย พิจารณาแล้วมีการอภิปรายสนับสนุน

     วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตัวแทนของคณะสงฆ์ มีพระเทพวีราภรณ์ พระมหาพล ฐิตาโภ พระมหากระจาย อธิปญฺโญ พระมหาพนม กิตฺติปาลี และนายวิรัตน์ กัลยาศิริ เข้าชี้แจงต่อสภามหาวิทยาลัย ในที่ประชุมรับทราบและเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ สมควรสนับสนุนให้เปิดดำเนินการ และมีมติอนุมัติให้เปิดเป็นหน่วยวิทยบริการ คณะพุทธสาสตร์ ณ วัดหงษ์ประดิษฐาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๘ เป็นต้นไป และให้ดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอรับรายงานการประชุม

     จึงมีประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่องเปิดหน่วยวิทยบริการฯ คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดหงษ์ประดิษฐาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้เปิดดำเนินการจัดการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๘ เป็นต้นไป โดยประกาศเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘

     เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ สถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้อนุญาตให้คณะสงฆ์จังหวัดสงขลาใช้งานอาคารเรียน จำนวน ๒ อาคาร ณ วัดหาดใหญ่สิตาราม  และในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ คณะสงฆ์จังหวัดสงขลาได้มีหนังสืออนุญาตให้ หน่วยวิทยบริการ วิทยาลัยสงฆ์นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดสงขลา ใช้อาคารเรียน จำนวน ๒ อาคาร ณ วัดหาดใหญ่สิตาราม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านพุทธนวัตกรรมทางพระพุทธศาสนาในการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ให้กับภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไป เปิดดำเนินการจัดการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๗ เป็นต้นไป

.

สุภาษิต ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ และพันธกิจ

ปรัชญา

“ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก”

ปณิธาน  

“เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์”

   เป็นไปตามพระราชประสงค์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ที่ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ที่จะให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ “เป็นสถานที่ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์”พระไตรปิฎก คือพระพุทธศาสนาส่วนวิชาชั้นสูงนั้นมีสองความหมาย ความหมายแรก คืออุดมวิชาหมายถึง การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ให้เกิดมรรคผลจนได้วิปัสสนาญาณ เป็นการพัฒนาจิตใจของตนเพื่อนำไปพัฒนาสังคม ประการที่สองคือ อุดมศึกษา หมายถึง ศาสตร์สมัยใหม่ที่ทางโลก แต่ไม่ใช่เป็นการเรียนแยกกันให้บูรณาการกันเนื่องจากในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ มีการแบ่งการศึกษาออกเป็น ๔ ระดับ คือ บูรพศึกษา (การศึกษาเบื้องต้น) ปฐมศึกษา (การศึกษาชั้นปฐม) มัธยมศึกษา (การศึกษาชั้นกลาง) และอุดมศึกษา (การศึกษาชั้นอุดมหรือชั้นสูง) จึงใช้คำว่า “วิชาชั้นสูง” คืออุดมศึกษา แต่ไม่ได้เปิดการศึกษาในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕

วิสัยทัศน์

“มหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่

และสร้างพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม”

“The University provides Buddhist Studies integrated with modern sciences and creates Buddhist Innovation for the Development of Mentality and Society

คณะผู้บริหาร

การเดินทาง

หน่วยวิทยบริการหน่วยวิทยบริการ   วิทยาลัยสงฆ์นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดสงขลา